วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2560



ความรู้ที่ได้รับ
       ในวันนี้อาจารย์ให้ทำปฏิทินเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นที่เป็น วันที่ และแผ่นสีตามวันต่างๆ ในสมบูรณ์และสามารถนำไปใช้ได้จริง  หลังจากทำปฏิทินเสร็จ ก็ทำสื่อคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยให้ทำเป็นกลุ่ม ซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าทำ โดมิโน่รูปทรง
วิธีการเล่น
   ให้คว่ำหน้าตัวโดมิโน่ลง แล้วให้หยิบตามเรากำหนด โดยจะกำหนดที่ตัวก็ได้ จากนั้นให้โอนอยออกว่าได้คนที่เท่าไหร่ คนที่ได้คนแรกจะวางตัวอะไรก็ได้ จากนั้นคนที่สองก็วางตัวต่อไป โดยจะต้องเป็นรูปทรงที่เหมือนกันเท่านั้นถึงจะต่อกันได้ ต่อไปเรื่อยๆใครหมดก่อน ถือว่าชนะ
ผลที่ได้รับ
   เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรง สี และการสังเกตภาพเหมือน ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยจะได้ในสาระการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิต

การนำไปประยุกต์ใช้
       สามารถนำสื่อของเพื่อนแต่ละกลุ่มที่อาจารย์เสนอข้อปรับปรุงต่างๆมาปรับใช้ในการนำไปประดิษฐ์ของเราเองในอนาคตได้




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ.2560







ความรู้ที่ได้รับ

      วันนี้นำเสนอแผนการสอนของแต่ละกลุ่ม โดยการสอบสอนตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละกลุ่มแบ่งกันว่าใครทำหน้าที่อะไร แล้วให้เพื่อนในห้องเป็นเด็กอนุบาล แต่ละวันที่หน่วยการสอน ดังนี้
   - วันจันทร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระเป๋า
   - วันอังคาร หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บ้าน
   - วันพุธ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ
   - วันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่อง กระต่าย
   - วันศุกร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง เสื้อ
 โดยกลุ่มของดิฉันได้สอนในวันพฤหัสบดี หน่วยการเรียนรู้เรื่องกระต่าย


การนำไปประยุกต์ใช้
       การนำเสนอแผนการสอนของเพื่อนแต่ละกลุ่มมีความหลากหลายและมีกิจกรรมที่แตกต่างกันไป มีบางส่วนที่ดีและไปดี แต่เราสามารถนำไปปรับใช้กับการสอนของเราในอนาคตได้



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้นำเสนอสื่อ มีเพื่อนบางส่วนนำเสนอไปแล้ว ส่วนคนที่ยังไม่ได้นำเสนอ อาจารย์ก็ให้นำเสนอต่อ พอเพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ให้ตอบคำถามเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้กับเด็ก โดยมีคำถามดังนี้
   1.การนับ
   2.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่เป็นกลุ่มย่อย
   3.การแยกจำนวนออกจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่
   4. การเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า

การนำไปประยุกต์ใช้
      นำสื่อที่เพื่อนนำเสนอไปใช้ในการประดิษฐ์สื่อในการสอนเด็กในหน่วยต่างๆได้ และนำวิธีการสอนที่อาจารย์แนะนำจากที่เราเขียนไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการสอนจริง


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.. 2560



ความรู้ที่ได้รับ

หลักสูตรคืออะไร ?
     หลักสูตรคือแนวทางในการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา เพื่อให้เด็กมีคุณลักษณะที่เหมาะสมกับวัย
- ด้านร่างกาย  กล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหวและมีสุขภาพที่ดี
- ด้านอารมณ์  รับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น แสดงออกทางอารมณ์ได้
- ด้านสังคม   การช่วยเหลือตนเองได้ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
- ด้านสติปัญญา ภาษา  ฟัง พูด อ่าน เขียน ) คิด ( สร้างสรรค์มีเหตุผล

การนำไปประยุกต์ใช้
      รู้วิธีการเขียนแผนที่สามารถนำไปใช้จัดปรับการณ์ให้กับเด็ก ให้เกิดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เด็กมีรากฐานเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560


เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจจึงให้ทำบอร์ดอยู่ที่ห้อง











วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560




ความรู้ที่ได้รับ


     อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปทรงที่ตนเองชอบ จากนั้นให้ออกไปหยิบไม้และดินน้ำมัน มาทำให้เป็นรูป 3 มิติ แล้วนำรูปของตนเองไปประกอบรวมกับของเพื่อนอีก 1 คน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต ว่าแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร



การประเมินผล

    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถาม

    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย








บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9


วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560




ความรู้ที่ได้รับ

        การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 
ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีกระดุมอยู่ 9 เม็ด  จะใช้เกณฑ์ว่ามีกระดุมที่มีสีขาวกับกระดุมที่ไม่มีสีขาวแบบไหนมีเยอะกว่ากัน เด็กจะสังเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่า กระดุมที่มีสีขาวมีจำนวนมากกว่ากระดุมที่ไม่มีสีขาวอยู่จำนวน 3 เม็ด


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      การนำสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ในการสอนได้หลายรูปแบบ แจ่อย่างไรก็ตามต้องนึกถึงตัวเด็กเป็นหลัก รวมถึงต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย และยังสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับเด็ปปฐมวัยตามความเหมาะสมเเละพัฒนาการด้วย



การประเมินผล
    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถาม

    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560



อุปกรณ์ที่ใช้
1. กระดาษเเข็ง สีน้ำเงิน เหลือง เเดง
2. กระดาษลัง
3. กรรไกร
4. คัตเตอร์
5. กาว
6. ไม้บรรทัด
7. ดินสอ
8. ยางลบ

ขั้นตอนการทำ
1.  นำกระดาษสีมาตัดเป็นรูปทรงวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ให้ฐานทุกอันเท่ากันทั้งหมด
2. เมื่อตัดกระดาษเเล้วนำมาทำเป็นรูปทรงเลขขาคณิต โดยกะขนาดความสูงไม่เท่ากัน
3. ทำฐานที่ใส่รูปทรงโดยนำกระดาษลังมา 2 แผ่น ตัดที่วางรูปทรง 1 แผ่น เเละอีก 1 แผ่นนั้นไม่ตัด นำมาประกบกันก็จะได้ฐานของรูปทรง

 ลักษณะของสื่อ
          สื่อชนิดนี้เป็นสื่อที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยตรงเนื่องจากเป็นรูปทรงเลขาคณิตเเละยังสามารถเรียนรู้ลักษณะของรูปร่างรูปทรงได้อีกด้วย ทำจากกระดาษเเข็ง ทนทาน เเละใช้งานได้นาน  มีน้ำหนักเบา ไม่คม ปลอดภัยต่อเด็กปฐมวัย

การพัฒนา
   1. ด้านร่างกาย : ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
   2. ด้านอารมณ์ : เด็กเกิดความสนุกสนาน
   3. ด้านสังคม : สามารถเล่นร่วมกับเพื่อนๆในห้องได้
   4. ด้านสติปัญญา : เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องรูปทรง    ฝึกการคิดและการวางแผน






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560




ความรู้ที่ได้รับ

   Project Apptoach ในหลวง

แบ่งตามการดำเนินการเป็น 3 ระยะ  ได้แก่

      ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม และ
      ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กได้ประสบการณ์ใหม่
      ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูและเด็กแลกเปลี่ยนความคิดจากการทำไข่พระอาทิตย์

สื่อนวัตกรรมการสอน

         สื่อที่มีคุณภาพสื่อพังได้ยากเพราะเด็กส่วนใหญ่ยังไม่ระมัดระวังในการใช้สื่อ สื่อควรจะทำให้สามารถดึงดูเด็กให้สนใจ

แผนจัดการเรียนรู้


         โรงเรียนของเอกชน โรงเรียนรัฐ โรงเรียนของกทม.มีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็อาจจะต่างกันไม่เยอะ มีแบบแผนที่เขียนต่างกัน แต่ละโรงก็เน้นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปปรับใช้กับการสอน Project Apptoach สำหรับเด็กปฐมวัยได้
การประเมินผล
    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถาม

    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย อธิบายชัดเจน







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6


วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3 : เรขาคณิตศาสตร์
              มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักการใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง เช่น
       -ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
       -รูปเรขาคณิตสามมิติ
       -ทรงกลม รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
       -รูปวงกลมรู้สามเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยม
       -การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
       -การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ


สาระที่ 4 : พีชคณิต
             มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจในแบบรูปและความสัมพันธ์

สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
           มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลี่เกี่ยวข้องกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ

สาระที่ 6 : ทักษะและการกระบวนการทางคณิตศาสตร์

- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    สามารถนำไปปรับใช้กับการสอนคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
การประเมินผล
    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถาม
    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย


วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5


วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560



ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์
      มี 4 ประเภท ได้เเก่
   1 ความรู้ทางกายภาพ เป็นความรู้ที่ได้จากการสังเกต ด้วยการรับรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5
   2 ความรู้ทางสังคม เป็นความรู้ที่ได้รับจากการปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น 1 สัปดาห์มี 7วัน  ,1 ปีมี 12 เดือน
   3 ความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์ การเข้าใจความสัมพันธ์สิ่งต่างๆจากการสังเกต สำรวจ ทดลอง เพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น
  4 ความรู้เชิงสัญลักษณ์ การเเสดงสิ่งที่รู้ด้วยสัญลักษณ์ สามารถสร้างความรู้เชิงตรรกะคณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสิ่งนั้นชัดเจน เช่น การนับผลไม้ในตะกร้าและสามารถวาดวงกลมแทนจำนวนได้

สาระเเละมาตรฐานการเรียนรู้คริตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานเป็นการประเมินขั้นต่ำ และใช้ในการประเมินเเละตัดสินใจ
  สาระที่ 1  จำนวนเเละการดำเนินการ เรื่องปริมาณโดยใช้ตัวเลขฮืนดูมาเป็นตัวกำกับ และนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
   จำนวน 
  - การใช้จำนวนบอกปริมาณได้
  - การเปรียบเทียบจำนวน
  - การเปรียบเทียบจำนวน
  - การเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก
  - การเรียงลำดับจำนวน
  - การอ่านตัวเลขฮินดูและเลขไทย
   การรวบรวมและการแบ่งกลุ่ม
  - ความหมายของการรวม
  - การรวมสิ่งต่างๆ 2 กลุ่มโดดยคำนึงว่าสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันเเละสอดคล้องกับประสบการณ์เดิม
  - ความหมายของการจำแนก
  - การเเยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่

 สาระที่ 2  การวัด  เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินเเละเวลา
   ความยาว น้ำหนักและปริมาณ
  - การเปรียบเทียบ / การวัด  / การเรียงลำดับน้ำหนัก
  - การเปรียบเทียบปริมาตร / ดวง
  เงิน ชนิดและค่าของเงิน
  เวลา ช่วงเวลาในเเต่ละวัน
  - ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับวัน


เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย

เพลงซ้าย ขวา
ยืนให้ตัวตรง   ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหน   หันตัวไปทางนั้นเเหละ

เพลงนกกระจิบ
นั่นนก             บินมาลิบลิบ
นกกระจิบ               1  2  3  4  5
อีกฝูกบินล่องลอยมา    6  7  8  9  10 ตัว


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
    การเเบ่งกลุ่มสามารถแบ่งได้หลายวิธีแล้วเเด่การออกแบบ และเพลงเด็กสามารถนำไปใช้การการสอนเด็กปฐมวัยได้

การประเมินผล
    ตนเอง ; ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถาม
    อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนมาอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย






วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ


ความหมายของคณิตศาสตร์
        การคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การนับ การคำนวณ การประมาณ มีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน เด็กใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของตนเองแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง

ความสำคัญของคณิตศาสตร์
        คณิตศาสตร์เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะ เป็นวิชาเกี่ยวกับการคิดที่มีเหตุผล เป็นเครื่องมือที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ สร้างคนให้มีนิวัยรอบคอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ประโยชน์ของคณิศาสตร์
        ใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์จะนำเด็กไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัวเด็ก

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 การนับ Counting
 ตัวเลข Number
 การจับคู่ Matching
 การจัดประเภท Classification
 การเปรียบเทียบ Comparing
 การจัดลำดับ Ordering
 การวัด Meusurement
 เศษส่วน Fraction
 เซ็ต Set
 รูปทรงหรือเนื้อที่ Shape and Space
 การทำตามหรือลวดลาย Patterning
 การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ Conservation


เพลงคณิศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลง นับนิ้วมือ
นี่คือนิ้วมือของฉัน   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว   มือขวาก็มีห้านิ้ว
         นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า    นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ

เพลง ลูกแมวสิบตัว
ลูกแมวสิบตัวที่ฉันเลี้ยงไว้   น้องขอให้แย่งไปหนึ่งตัว
ลูกแมวสิบตัวก็เหลือน้อยลงไป   นับดูใหม่เหบือลูกแมวเก้าตัว
(นับน้อยลงไปเรื่อยๆ)

เพลง แม่ไก่ออกไข่
แม่ไก่ออกไข่วันละฟอง  ไข่วันละฟอง ไข่วันละฟอง
แม่ไก่ของฉันไข่ทุกวัน  หนึ่งวันได้ไข่หนึ่งฟอง
(นับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
         มีการเรียนการสอนเเบบแบ่งกลุุ่ม เเบ่งเด็กที่ตื่นนอนก่อน 6 โมงเช้ากับตื่นหลัง 6 หลังหกโมงเช้า โดยใช้ป้ายชื่อที่เด็กออกแบบขึ้นไปแปะตามเวลาตื่นของตนเอง สามารถสอนเรื่องเวลาเเละการนับจำนวนได้

การประเมินผล
        ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นบางครั้ง คุยกับเพื่อนส่วนใหญ่
        อาจารย์ ; มีการเตรียมการสอนอย่างดีเเละสอนเข้าใจง่าย







วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

   การอนุรักษ์ ( Conservation ) สื่อจำเป็นต้องเป็นรูปธรรม เด็กจะมองเห็นภาพมากกว่าที่เป็นรูปสื่อเพียวอย่างเดียว
      - โดยการนับ
      - จับคู่ 1-1
      - เปรียบเทียบรูปทรง
      - เรียงลำดับ
      - จับกลุ่ม

  
 เจอโรม บรูเนอร์  ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาเเบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆคือ

    1 ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ ใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ได้โดยการกระทำ
    2 ขั้นการเรียนรู้จากความคิด สร้างมโนภาพในใจได้
    3 ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนเเละเป็นนามธรรมได้

 เลฟ ไวก็อตสกี้  เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพเเวดล้อมของเขา เเละจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นเดียวกันเป็นการสนับสนุน และเพิ่มพัฒนาการให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงภายในหรือที่เรียกว่า เจตคติ 
     - เด็กต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่มรสมรรถนะ
     - นั่งร้าน การสนับสนุนของผู้ใหญ่โดยให้การช่วยเหลือกับเด็ก
     - ต้องมีความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย

                      

เพลงคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


เพลง ขวด 5 ใบ
ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหมฃลือขวดกี่ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวด ลงไปตามลำดับ จนดระทั่งเหลือขวดหนึ่งใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


เพลง เท่ากัน - ไม่เท่ากัน
ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานั้นหนา  สองขาต่างกัน
ช้างม้า มีขา  สี่ขา เท่ากัน
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย


เพลงบวก - ลบ
บ้านฉันมีเเก้วน้ำสี่ใบ  ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีสิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีเเก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วเเล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงเเค่สี่ใบ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

      นำความรู้ที่ได้จากการเรียนนักทฤษฏีไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก

การประเมินผล

      ตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนเเละพยายามตอบคำถามเมื่ออารจารย์ซักถาม
      อาจารย์ : ,มีการเตรียมการสอนมาอย่างเเละสอนเข้าใจง่าย
     สภาพแวดล้อม : สงบ เเละอุปกรณ์ในการสอนพร้อมมากขั้น เเต่จอยังมองไม่ค่อยเห็นเพราะเอียง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560





ความรู้ที่ได้รับ

  ความหมายของพัฒนาการ
         พัฒนาการคือ ความสามารถเด็กที่มีการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมเป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่องโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ

  ความสำคัญของพัฒนาการ
          การเเสดงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้จัดประสบการณืได้อย่างเหมาะสม

   
   เด็กแรกเกิด - 2 ปี พัฒนาการใช้ประสาทสัมผัส ( Sensorimotor Stage )

   2 - 6 ปี  เตรียมความคิดที่มีเหตุผล ( Preperational Stage )

   2 - 4  ปี  พูดเป็นประโยคสั้นๆ ใช้เหตุผลได้ไม่ดี

   4 - 6  ปี  เริ่มใช้เหตุผลได้


การนำความรู้ไปประยุกต์
       การรู้พัฒนาการของเด็กทำให้สามารถนำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กได้ถูกต้องและเหมาะสมกับวัย

การประเมินผล
       ตนเอง ; ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน พยายามตอบคำถามและจดตลอด
       อาจารย์ ; อาจารญ์สอนเข้าใจง่ายและพยายามถามนักศึกษาอยู่บ่อยๆทำให้เกิดการกระตุ้นในการเรียน
      สภาพเเวดล้อม ; บรรยากาศดี แอร์เย็น เเละอุปกรณ์ในการสอนค่อนข้างครบ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ.2560




ความรู้ที่ได้รับ
  - อธิบายความหมายของชื่อวิชาร่วมกันภายในห้อง ทำให้เข้าใจถึงรายวิชาที่จะเรียน
  - การจัดประสบการณ์จำเป็นต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้
  - เเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่คาดหวังภายในวิชานี้
  - มาตรฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ สสวท.


การประเมินผล
   ตนเอง ; ไนผลม่ได้มาเรียนเนื่องจากทำธุระที่ต่างจังหวัด แต่ได้มีการถามเพื่อนว่ารายวิชานี้มีการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง
   อาจารย์ ; อธิบายเนื้อหาในรายวิชาได้อย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย มีการถามคำถามเพื่อให้นักศึกษาคิดเเละเเลกเปลี่ยนความรู้กันภายในห้องเรียน
   สภาพเเวดล้อม ; ภายในห้องสงบ เเต่ไม่มีปากกาไวท์บอร์ดเเละโน้ตบุ๊คทำให้อาจารย์สอนได้อย่างไม่เต็มที่